messager
 
องค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง info_outline ข้อมูลการติดต่อ

องค์การบริหารส่วนตำบล
สำโรง
อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์
อำนาจหน้าที่
1 ภารกิจ อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1.1 การวิเคราะห์ศักยภาพในการพัฒนาตามหลัก SWOT ขององค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง แบบองค์รวม มีดังนี้ จุดแข็ง (Strength=s) ประชาชนมีคุณภาพ และมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาท้องถิ่น ทั้งในโครงสร้างพื้นฐานและคุณภาพชีวิต ชุมชนเข้มแข็งได้รับการบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐานครบถ้วนสมบูรณ์ มีโรงเรียนประถมศึกษา ๕ แห่ง โรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาส (ม.๓) ๒ แห่ง สามารถรองรับการเรียนของนักเรียนได้อย่างเพียงพอ องค์การบริหารส่วนตำบลที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะรองรับการบริการสาธารณะ มีการประสานความร่วมมือกันระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลกับส่วนราชการอื่นในพื้นที่ มีพื้นที่ป่าไม้ทำให้สภาพแวดล้อมธรรมชาติดี มีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อกองทุนหมู่บ้าน ที่เอื้อประโยชน์ให้กับคนในชุมชน จุดอ่อน (Weak-W ) เป็นชุมชนที่มีการปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่ห่างไกลกัน ประชาชนมีรายได้น้อย ฐานะยากจน และขาดที่ทำกิน ประชาชนไม่มีงานทำนอกฤดูทำนา เด็กและเยาวชนบางส่วนไม่สามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ประชาชนออกไปหางานทำนอกพื้นที่ มีการบุกรุกที่สาธารณะประโยชน์ กลุ่มอาชีพยังไม่เข้มแข็ง ประชาชนยังขาดความเอาใจใส่ดูแลสุขภาพของตนเอง ศิลปะ ประเพณีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นขาดการสืบสาน โอกาส (Opportunity – O) องค์การบริหารส่วนจังหวัดสามารถสนับสนุนงบประมาณให้องค์การบริหารส่วนตำบลสำโรงที่มีแผนงานโครงการตามแนวทางยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด เช่น ถนน ขุดลอกคลอง มีพื้นที่เหมาะสมในการทำการเกษตร ไร่อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา และปลูกข้าว ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสำโรงมีพื้นที่ป่าไม้พอที่จะรองรับเป็นธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อุปสรรค (Threat – T) ประชาชนขาดแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ประชาชนยังขาดความรู้ในการพัฒนา ผลผลิตทางการเกษตร ประชาชนยังขาดความรู้ในการร่วมมือกันเพื่อจัดตั้งกลุ่มต่างๆ ประชาชนยังขาดจิตสำนึกที่ดี ในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม งบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลยังมีไม่เพียงพอในการบริหารจัดการให้ครบทุกด้าน 1.2 การวิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนาท้องถิ่น ตามหลัก SWOT ขององค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง พบว่า ปัจจัยภายในประกอบด้วย จุดแข็ง (Strength=s) ด้านการบริหาร ได้แก่ การแบ่งส่วนราชการ การวางแผน การประสานงาน การมอบอำนาจ การกำกับดูแล ระเบียบ กฎหมาย บุคลากร ได้แก่ อัตรากำลัง คุณภาพ วินัย ทัศนคติ พฤติกรรม งบประมาณ ระบบข้อมูล การประสานงาน/การอำนวยการ/ความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทรัพยากร เครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำงาน ปัจจัยภายนอกประกอบด้วย ด้านการเมือง ความขัดแย้ง กลุ่มผลประโยชน์ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม นโยบายรัฐบาล เทคโนโลยี จุดแข็งของการพัฒนาในปัจจุบัน มีสายการบังคับบัญชาที่สั้นและรวดเร็ว มีงบประมาณเป็นของตนเอง มีบุคลากรและพื้นที่รับผิดชอบชัดเจน มีเครื่องมือและเทคโนโลยีเพียงพอ มีระบบข้อมูลเพียงพอ มีการแบ่งส่วนราชการที่เหมาะสม มีการกำกับดูแลอย่างทั่วถึง จุดแข็งอ่อนของการพัฒนา มีอัตรากำลังที่น้อยและมีความรู้ไม่เพียงพอ ระเบียบกฎหมายยังไม่ชัดเจน ขาดบุคลากรที่ปรึกษาให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน ผลการวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชน จุดแข็ง (Streng=s) ประชาชนมีคุณภาพ และมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาท้องถิ่นทั้งในด้านโครงสร้างและคุณภาพชีวิต ชุมชนเข้มแข็งได้รับการบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐานครบถ้วนสมบูรณ์ มีโรงเรียนประถมศึกษา ๕ แห่ง โรงเรียนขยายโอกาส ๒ แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๔ แห่ง สามารถรองรับการเรียนของเด็กนักเรียนได้อย่างเพียงพอ องค์การบริหารส่วนตำบลมีศักยภาพเพียงพอที่จะรองรับการบริการสาธารณะและแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน มีการประสานความร่วมมือกันระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลกับส่วนราชการอื่นในพื้นที่ มีป่าไม้มาก ทำให้สภาพแวดล้อมและธรรมชาติดี มีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อกองทุนหมู่บ้าน ที่เอื้อประโยชน์ให้กับคนในชุมชน จุดอ่อน (Weakness=W) เป็นชุมชนที่มีการปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่ห่างไกลกัน ประชาชนมีรายได้น้อย ฐานะยากจน และขาดที่ทำกิน ประชาชนไม่มีงานทำนอกฤดูทำนา เด็กและเยาวชน บางส่วนไม่สามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ประชาชนออกไปหางานทำนอกพื้นที่ มีการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ กลุ่มอาชีพยังไม่เข้มแข็ง ประชาชนยังขาดความเอาใจใส่ดูแลสุขภาพของตนเอง อุปสรรคหรือข้อจำกัด (Threat=T) ประชาชนขาดแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ประชาชนยังขาดความรู้ในการพัฒนา ผลผลิตทางการเกษตร ประชาชนยังขาดความรู้ในการร่วมมือกันเพื่อจัดตั้งกลุ่มต่างๆ ประชาชนยังขาดจิตสำนึกที่ดีในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม งบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลยังมีไม่เพียงพอในการบริหารจัดการให้ครบทุกด้าน โอกาส (Opportunity=O) องค์การบริหารส่วนจังหวัดสามารถสนับสนุนงบประมาณให้องค์การบริหารส่วนตำบลสำโรงที่มีแผนงานโครงการตามแนวทาง ยุทธศาสตร์การพัฒาจังหวัด เช่น ถนน ขุดลอกคลอง มีพื้นที่เหมาะสมในการทำการเกษตร ไร่อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา และปลูกข้าว ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสำโรงมีพื้นที่ป่าไม้พอที่จะรองรับเป็นธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. ภารกิจหลัก และภารกิจรอง ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะดำเนินการ การพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลสำโรงนั้น เป็นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการร่วมคิดร่วมแก้ไขปัญหาร่วมจัดทำส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นในทุกด้าน การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลสำโรงจะสมบูรณ์ได้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชนในพื้นที่ เกิดความตระหนักร่วมกันแก้ไขปัญหาและความเข้าใจในแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง องค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง ยังได้เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาในทุกกลุ่มทุกวัยของประชากร นอกจากนั้นยังได้เน้นการส่งเสริม และสนับสนุนให้การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน และพัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ โดยยึดกรอบแนวทางในการจัดระเบียบการศึกษา ส่วนด้านพัฒนาอาชีพนั้น จะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในท้องถิ่น และยังจัดให้ตั้งเศรษฐกิจแบบพอเพียงโดยส่วนรวม การวิเคราะห์ภารกิจ อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ และรวบรวมกฎหมายอื่นขององค์การบริหารส่วนตำบล ใช้เทคนิค SWOT เข้ามาช่วย ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่าองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาในเขตพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างไร โดยวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภัยคุกคามในการดำเนินการตามภารกิจ ๑. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้ ๑. ก่อสร้างและปรับปรุงเส้นทางการคมนาคม สิ่งอำนวยความสะดวก กิจการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการต่างๆ ให้ครบถ้วนเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนที่อยู่ในเขตขององค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง เป็นภารกิจหลักตามมาตรา มาตรา ๖๗ (๑) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก ๒. ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร (มาตรา ๖๘ (๑) ) ๓. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น (มาตรา ๖๘ (๒) ) ๔. ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ (มาตรา ๖๘ (๓) ) ๕. การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ (มาตรา ๑๖ (๔) ) ๖. การสาธารณูปการ (มาตรา ๑๖ (๕) ) ๒. ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ๑. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ( มาตรา ๖๗ (๖) ) ๒. ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ (มาตรา ๖๗ (๓) ) ๓. ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬาการพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ (มาตรา ๖๘ (๔)) ๔. การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส (มาตรา ๑๖(๑๐)) ๕. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (มาตรา ๑๖ (๒) ) ๖. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน (มาตรา๑๖(๕)) ๗. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล (มาตรา ๑๖ (๑๙)) ๓. ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ๑. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (มาตรา ๖๗(๔)) ๒. การคุ้มครองดูแล และรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน (มาตรา ๖๘(๘)) ๓. การผังเมือง (มาตรา ๖๘ (๑๓)) ๔. จัดให้มีที่จอดรถ (มาตรา ๑๖ (๓)) ๕. การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (มาตรา ๑๖ (๑๗)) ๖. การควบคุมอาคาร (มาตรา ๑๖ (๒๘)) ๗. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน (มาตรา ๑๖ (๓๐)) ๔. ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ๑. ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว (มาตรา ๖๘ (๖) ) ๒. ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์ (มาตรา ๖๘ (๕) ) ๓. บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร ( มาตรา ๖๘(๗) ) ๔. ให้มีตลาด (มาตรา ๖๘ (๑๐) ) ๕. การส่งเสริม การฝึกอบรม และการประกอบอาชีพ (มาตรา ๑๖ (๑๖) ) ๖. การส่งเสริมการท่องเที่ยว ( มาตรา ๖๘ (๑๒) ) ๗. กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ ( มาตรา ๖๘ (๑๑) ) ๘. การพาณิชยกรรมและการส่งเสริมการลงทุน (มาตรา ๑๖ (๗) ) ๕. ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ๑. คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มาตรา ๖๗ (๗)) ๒. การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม (มาตรา ๑๖ (๒๔)) ๓. รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและ สิ่งปฏิกูล (มาตรา ๖๗ (๒)) ๔. การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ (มาตรา ๑๗ (๑๒) ) ๖. ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ๑. บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น (มาตรา ๖๗ (๘)) ๒. ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (มาตรา ๖๗ (๕)) ๓. การจัดการศึกษา (มาตรา ๑๖ (๙)) ๔. การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น (มาตรา ๑๗(๑๘) ๗. ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุน การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีภารกิจที่ เกี่ยวข้อง ดังนี้ ๑. สนับสนุนสภาตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น (มาตรา๔๕ (๓)) ๒. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรตามความ จำเป็นและสมควร (มาตรา ๖๗ (๙)) ๓. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการมีมาตรการป้องกัน (มาตรา ๑๖ (๑๖)) ๔. การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา ๑๗ (๓)) ๕. การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น (มาตรา ๑๗ (๑๖)) ภารกิจทั้ง ๗ ด้านตามที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจองค์การบริหารส่วนตำบล สามารถจะแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง ได้เป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยคำนึงถึงความต้องการของประชาชน ในเขตพื้นที่ประกอบด้วยการดำเนินการ ขององค์การบริหารส่วนตำบล จะต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นสำคัญ ภารกิจหลัก ๑. ด้านการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ๒. ด้านการสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา คนพิการและผู้ด้อยโอกาส ๓. ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๔. ด้านการพัฒนาการเมืองการบริหาร ๕. ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ๖. ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ๗. ด้านการปรับปรุงและพัฒนาสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา เป็นต้น ๘. ด้านการรักษาความสะอาด การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล ๙. การป้องกันและระงับโรคติดต่อ ๑๐. การพัฒนาและปรับปรุงการเมืองและการบริหาร ๑๑. การส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มอาชีพและการเพิ่มรายได้แก่ราษฎร ๑๒. การฟื้นฟูและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น ๑๓. การส่งเสริมและเสริมสร้างให้ราษฎรมีสุขภาพแข็งแรง ๑๔. การส่งเสริมการเกษตรและการประกอบอาชีพทางการเกษตร ๑๕. การจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ๑๖. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน ภารกิจรอง ๑. ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย ๒. การคุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๓. การสนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรมในครัวเรือน ๔. การคุ้มครองดูแล และรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ๕. การฟื้นฟูวัฒนธรรมและส่งเสริมประเพณีในท้องถิ่น ๖. การสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพกลุ่มอาชีพ ๗. การส่งเสริมการเกษตรและการประกอบอาชีพทางการเกษตร ๘. ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุนประกอบการค้า ๙. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น ๑๐. การสาธารณสุข การอนามัยครัวเรือน และการรักษาพยาบาล ๑๑. การจัดการ การบำรุง และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๑๒. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของราษฎร